ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง
ข้อที่
1. การหลอกขู่เข็ญให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว
ตรงกับสำนวนไทยในข้อใด
ก. ข่มโคให้กินหญ้า
ข. กระต่ายตื่นตูม
ค. เขียนเสือให้วัวกลัว
ง. จับงูข้างหาง
ข้อที่
2. “เนื้อเต่ายำเต่า”
มีความหมายตรงกับสำนวนข้อใด
ก. อัฐยายซื้อขนมยาย
ข. ทรัพย์ในดินสินในน้ำ
ค. ปิดทองหลังพระ
ง. สาวไส้ให้กากิน
ข้อที่
3. “ทำบุญเอาหน้า ภาวนากันตาย”
มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ทำเป็นคนใจบุญ
ข. ทำเพื่ออวดเพื่อนฝูง
ค. ชอบขัดขวางผู้อื่น
ง. พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ข้อที่
4. “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” มีความหมายตรงกับสำนวนข้อใด
ก. ทำนาบนหลังคน
ข. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ค. ใจดีสู้เสื้อ
ง. ชีปล่อยปลาแห้ง
ข้อที่
5. “ติเรือทั้งโกลน”
มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ชักชวนให้เสียความตั้งใจ
ข. หวังในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ค. ตำหนิในเรื่องที่จะเริ่มทำ
ง. ชอบขัดวางผู้อื่น
|
เฉลย
ข้อที่ 1. การหลอกขู่เข็ญให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว
ตรงกับสำนวนไทยในข้อใด
ก. ข่มโคให้กินหญ้า
ข. กระต่ายตื่นตูม
ค. เขียนเสือให้วัวกลัว
ง. จับงูข้างหาง
|
วิเคราะห์
คำในคำตอบ
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
กระต่ายตื่นตูม (สํา) น.
ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสํารวจให้ถ่องแท้ก่อน.
ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า (สํา)
ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทําตามที่ตนต้องการ เช่น
จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).
เขียนเสือให้วัวกลัว (สํา)
ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม.
จับงูข้างหาง (สํา) ก.
ทําสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย.
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ค.
ขออธิบายว่า
ทำไมการจับงูข้างหางจึงอันตราย
ธรรมชาติของงูนั้น
มันจะฉกได้เท่าที่มันแผ่แม่เบี้ยไว้
พังพอนทั้งหลายมันจะรู้จังหวะดี สัตว์ทั้งหลายก็จะรู้กันดี ดังนั้น มันจะไปอยู่ด้านหน้าของงู
ถ้าเราไปจับทางด้านหาง
งูมันจะหันมาฉกได้ทันที
การจับงูข้างหางจึงอันตรายมาก
ข้อที่ 2. “เนื้อเต่ายำเต่า” มีความหมายตรงกับสำนวนข้อใด
ก. อัฐยายซื้อขนมยาย
ข. ทรัพย์ในดินสินในน้ำ
ค. ปิดทองหลังพระ
ง. สาวไส้ให้กากิน
|
วิเคราะห์
สำนวนของโจทย์และคำตอบ
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
เนื้อเต่ายำเต่า (สํา)
ก. นําเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม.
อัฐยายซื้อขนมยาย
(สํา) ก.
เอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอแต่งงานด้วยมอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้นโดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทําอย่างอื่นในทํานองเดียวกันนี้ เช่น
เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่นของผู้นั้น.
ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ
(สํา) น.
สิ่งที่มีอยู่หรือเกิดตามธรรมชาติอันอาจนํามาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้.
ปิดทองหลังพระ
(สํา) ก. ทําความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครห็นคุณค่า.
สาวไส้ให้กากิน
(สํา) ก.
นำความลับของฝ่ายตนไปเปิดเผยให้คนอื่นรู้เป็นการประจานตนหรือพรรคพวกของตน.
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ก.
ข้อที่ 3. “ทำบุญเอาหน้า ภาวนากันตาย”
มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ทำเป็นคนใจบุญ
ข. ทำเพื่ออวดเพื่อนฝูง
ค. ชอบขัดขวางผู้อื่น
ง. พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
|
วิเคราะห์
สำนวน “ทำบุญเอาหน้า
ภาวนากันตาย” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ทำบุญเอาหน้า
(สํา) ก. ทําบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทําด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับภาวนากันตาย.
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ข.
ข้อที่ 4. “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” มีความหมายตรงกับสำนวนข้อใด
ก. ทำนาบนหลังคน
ข. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ค. ใจดีสู้เสื้อ
ง. ชีปล่อยปลาแห้ง
|
วิเคราะห์
สำนวนของโจทย์และคำตอบ
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
(สํา) ก. ลงทุนมากแต่ได้ผลนิดหน่อย.
ทำนาบนหลังคน
(สํา) ก. หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น.
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
(สํา) ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน, ใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์, เสียทรัพย์ไปโดยไม่ได้ประโยชน์อะไร.
ใจดี ว.
มีใจเมตตากรุณา, ไม่โกรธง่าย; คุมใจไว้ให้มั่น เช่น ใจดีสู้เสือ
สำนวน “ชีปล่อยปลาแห้ง” ไม่มีในพจนานุกรม
ความหมายคือ เสแสร้งว่าเป็นคนใจบุญ
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ข.
ข้อที่ 5. “ติเรือทั้งโกลน” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ชักชวนให้เสียความตั้งใจ
ข. หวังในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ค. ตำหนิในเรื่องที่จะเริ่มทำ
ง. ชอบขัดวางผู้อื่น
|
วิเคราะห์
สำนวน “ติเรือทั้งโกลน” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ติเรือทั้งโกลน
(สํา) ก. ตําหนิสิ่งที่ยังทําไม่เสร็จหรือที่ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร, ติพล่อยๆ
ไปเสียก่อนที่จะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร.
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ค.