บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบความหมายของคำ ชุดที่ 1

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  นี่คือ “กติกา” การแข่งขัน  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  ข้อแนะนำ
ข.  ข้อตกลง
ค.  ข้อห้าม
ง.  ข้อเสนอ

ข้อที่  2.  เชิญไปรับของ “สมนาคุณ” ได้ที่บริษัท  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  รางวัล
ข.  ของที่ระลึก
ค.  ของตอบแทน
ง.  ช่วยเหลือ

ข้อที่  3.  รัฐบาล “ยับยั้ง” การเดินขบวน  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  ระวัง
ข.  หยุดไว้
ค.  รอคอย
ง.  เปลี่ยนแปลง

ข้อที่  4.  เธอทำท่า “ยโส” เหลือเกิน  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  ดื้อ
ข.  เด่น
ค.  หยิ่ง
ง.  สวย

ข้อที่  5.  “มีแถลงการณ์” ของรัฐบาล  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  คำสั่ง
ข.  คำอธิบาย
ค.  คำแนะนำ
ง.  คำตักเตือน

ข้อที่  6.   เวลาจวนจะ “โพล้เพล้”  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  ใกล้รุ่ง
ข.  ใกล้เที่ยง
ค.  ใกล้ค่ำ
ง.  คำแล้ว

ข้อที่  7.  กอดจูบลูบเนตรเกศ “กรรณ”  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  ปาก
ข.  จมูก
ค.  คอ
ง.  หู

เฉลย

ข้อที่  1.  นี่คือ “กติกา” การแข่งขัน  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  ข้อแนะนำ
ข.  ข้อตกลง
ค.  ข้อห้าม
ง.  ข้อเสนอ

วิเคราะห์

คำว่า “กติกา” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
กติกา  น. กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปกําหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล; (กฎ) หนังสือสัญญา; ข้อตกลง. (ป.; อ. covenant).
ดังนั้น ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  2.  เชิญไปรับของ “สมนาคุณ” ได้ที่บริษัท  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  รางวัล
ข.  ของที่ระลึก
ค.  ของตอบแทน
ง.  ช่วยเหลือ

วิเคราะห์

คำว่า “สมนาคุณ” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
สมนาคุณ  ก. ตอบแทนบุญคุณด้วยทรัพย์ สิ่งของ หรือแรงงานเป็นต้นแล้วแต่กรณี เช่น ร้านค้ามีของสมนาคุณผู้ซื้อธนาคารให้ของสมนาคุณแก่ลูกค้า, เรียกทรัพย์หรือสิ่งของเป็นต้นที่ให้ในลักษณะเช่นนั้นว่า เงินสมนาคุณ ของสมนาคุณ.
ดังนั้น ข้อ ค. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  3.  รัฐบาล “ยับยั้ง” การเดินขบวน  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  ระวัง
ข.  หยุดไว้
ค.  รอคอย
ง.  เปลี่ยนแปลง

วิเคราะห์

คำว่า “ยับยั้ง” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ยับยั้ง ก. หยุดไว้, รั้งรอไว้, เช่น ยับยั้งใบลาไว้; พักอยู่.
ดังนั้น ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  4.  เธอทำท่า “ยโส” เหลือเกิน  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  ดื้อ
ข.  เด่น
ค.  หยิ่ง
ง.  สวย

วิเคราะห์

คำว่า “ยโส” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ยโส  ก. เย่อหยิ่งเพราะถือตัวว่ามียศ มีปัญญา มีความรู้ มีกําลัง มีทรัพย์ ฯลฯ.
ดังนั้น ข้อ ค. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อนี้ค่อนข้างง่าย เพราะมีสำนวนที่สามารถอ่านพบได้ในที่ทั่วๆ ไป ว่า “หยิ่งยโส

ข้อที่  5.  “มีแถลงการณ์” ของรัฐบาล  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  คำสั่ง
ข.  คำอธิบาย
ค.  คำแนะนำ
ง.  คำตักเตือน

วิเคราะห์

คำว่า “แถลงการณ์” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
แถลงการณ์ (กฎ) น. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ.
ดังนั้น ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  6.   เวลาจวนจะ “โพล้เพล้”  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  ใกล้รุ่ง
ข.  ใกล้เที่ยง
ค.  ใกล้ค่ำ
ง.  คำแล้ว

วิเคราะห์

คำว่า “โพล้เพล้” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
โพล้เพล้ น. เวลาพลบคํ่า, เวลาจวนคํ่า, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เพล้โพล้ ก็ว่า, ใช้ว่า พี้โพ้ ก็มี.
ดังนั้น ข้อ ค. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ข้อที่  7.  กอดจูบลูบเนตรเกศ “กรรณ”  คำในข้อใด มีความหมายเช่นเดียวกับคำที่เน้นตัวหนา
ก.  ปาก
ข.  จมูก
ค.  คอ
ง.  หู

วิเคราะห์

คำว่า “กรรณ” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
โพล้เพล้ น. เวลาพลบคํ่า, เวลาจวนคํ่า, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เพล้โพล้ ก็ว่า, ใช้ว่า พี้โพ้ ก็มี.
กรรณ, กรรณ-  น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือ กลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ.(ส. กรฺณ).

ดังนั้น ข้อ ง. จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น