ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง
ข้อที่ 1. ความหมายของคำในข้อใด
ไม่เข้าพวก
ก. มัด
ข. ผูก
ค. รัด
ง. บีบ
ข้อที่ 2. ความหมายของคำในข้อใด
ไม่เข้าพวก
ก. ห้อย
ข. ร่วง
ค. หล่น
ง. ตก
ข้อที่ 3. ความหมายของคำในข้อใด
ไม่เข้าพวก
ก. ผลิ
ข. โรย
ค. แย้ม
ง. บาน
ข้อที่ 4. ความหมายของคำในข้อใด
ไม่เข้าพวก”
ก. ไม้ม้วน
ข. ไม้หน้า
ค. ไม้ตาย
ง. ไม้มลาย
ข้อที่ 5. ความหมายของคำในข้อใด
ไม่เข้าพวก
ก. ใจดำ
ข. ใจเด็ด
ค. ใจเพชร
ง. ใจกล้า
เฉลย
ข้อที่ 1. ความหมายของคำในข้อใด
ไม่เข้าพวก
ก. มัด
ข. ผูก
ค. รัด
ง. บีบ
วิเคราะห์
คำในคำตอบ
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
มัด ก. ผูกรัดเข้าด้วยกัน, ผูกรัดให้แน่น. น.
ลักษณนามเรียกของบางอย่างที่ผูกรัดเข้าด้วยกัน เช่น ไต้มัดหนึ่ง ฟืน ๒ มัด.
ผูก
ก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทําให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น
เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อหรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน
เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น
เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า;
ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ.
นรินทร์);
จอง เช่นผูกเวร;
ตรงข้ามกับ แก้.
น.
ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่งๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.
รัด ก. โอบรอบหรือพันให้กระชับ เช่น
กอดรัด งูเหลือมรัด เอายางรัด, คับ, ตึง, เช่น แขนเสื้อรัด กระโปรงรัดสะโพก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น
เช่น เอาเม็ดต้อยติ่งพอกทําให้ฝีรัด.
บีบ ก. ใช้มือเป็นต้นกดด้านทั้ง ๒
ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าหากัน เช่น บีบมะนาว, โดยปริยายหมายถึงกดดัน เช่น ถูกบีบ.
จากความหมายของพจนานุกรม
จะเห็นว่า มัด ผูก รัด จะมีอุปกรณ์ในการทำให้สิ่งของอยู่ด้วยกัน แต่ “บีบ” เป็นการใช้มือของเราแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งของที่ถูกบีบจะมีขนาดเล็กลงด้วย
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ง.
ข้อที่ 2. ความหมายของคำในข้อใด
ไม่เข้าพวก
ก. ห้อย
ข. ร่วง
ค. หล่น
ง. ตก
วิเคราะห์
คำในคำตอบ
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ห้อย
ก. แขวนติดอยู่ เช่น ห้อยอุบะ, ปล่อยหรือหย่อนให้แขวนติดอยู่ เช่น นั่งห้อยเท้า.
ร่วง ก. หล่น เช่น ใบไม้ร่วง ผลไม้ร่วง, หลุด เช่น ถูกชกฟันร่วง ผมร่วง.
หล่น
ก. ตกลงมา, ร่วงลง.
ตก
ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก;
ไหลลง, หยดลงมา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก;
ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก;
เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า;
เอาเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้นมา
เช่น ตกปลา ตกกุ้ง;
ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดูหนาว;
เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูกแดดเป็นต้นว่า
สีตก;
ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก;
มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว;
ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก;
เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ;
ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสารเช่น
ตกรถตกเรือ;
เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอาเป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน
เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง;
โดยปริยายหมายความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า
กลัวยอมแพ้ หรือหมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก.
ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
คำว่า “ร่วง หล่น
ตก” หมายถึงว่า สิ่งของหลุดออกจากตำแหน่งเดิม ส่วนคำว่า “ห้อย” สิ่งของไม่ได้หลุดออกมาจากตำแหน่งเดิม
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ก.
ข้อที่ 3. ความหมายของคำในข้อใด
ไม่เข้าพวก
ก. ผลิ
ข. โรย
ค. แย้ม
ง. บาน
วิเคราะห์
คำในคำตอบ
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ผลิ
ก. เริ่มงอกปริออกมา, เริ่มแตกดอกออกใบ, เช่น ดอกไม้ผลิใบไม้ผลิ.
โรย ก. อาการที่ดอกไม้ค่อยๆ
เหี่ยวแห้งและเริ่มหลุดร่วงไป เช่น ดอกไม้โรยดอกจำปาโรย, อาการที่กลีบหรือเกสรดอกไม้ค่อยๆ
หลุดร่วงไป เช่น กลีบกุหลาบโรย
เกสรบัวโรย;
อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นเพราะอดนอนหรือเพิ่งหายไข้เป็นต้น
เช่น หน้าตายังโรยอยู่ อดนอนตาโรย;
หย่อนกำลัง, เพลีย, ในคำว่า อิดโรย;
ค่อยๆ ผ่อนลง เช่น โรยเชือก โรยอวน;
ค่อยๆ โปรยลงไป, โปรยลงไปทีละน้อย, เช่น เอาแป้งโรยตัว โรยอาหารให้ปลา
โรยพริกไทย โรยผักชี.
แย้ม ก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อยๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น
พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.
บาน น. ของที่เป็นแผ่นๆ บางอย่าง เช่น บานประตู
บานหน้าต่างบานกระจกเงา;
ลักษณนามใช้เรียกของเช่นนั้น เช่น กระจกบานหนึ่ง
หน้าต่าง ๒ บาน.
ก. เผยออก, คลี่ออก, ขยายออก,
เช่น ดอกไม้บาน หอบซี่โครงบาน;
กระจาย เช่น เรือแล่นจนนํ้าบาน.
ว. ที่ผายออก เช่น ชามปากบาน กางเกงขาบาน กระโปรงบาน;
ปลาบปลื้ม, แช่มชื่น, เบิกบาน, เช่น ใจบานหน้าบาน;
(ปาก) มาก เช่น เสียไปบาน.
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ข.
ข้อที่ 4. ความหมายของคำในข้อใด
ไม่เข้าพวก”
ก. ไม้ม้วน
ข. ไม้หน้า
ค. ไม้ตาย
ง. ไม้มลาย
วิเคราะห์
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ค. “ไม้ตาย” พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ไม้เด็ด, ไม้ตาย
น. ท่าสําคัญในการต่อสู้กระบี่กระบองหรือมวยซึ่งทําให้ฝ่ายปรปักษ์ไม่สามารถจะสู้ได้อีก, ตรงข้ามกับ ไม้เป็น,
โดยปริยายหมายถึงวิธีการที่จะเอาชนะศัตรูได้ เช่น เขาใช้ไม้ตาย
เขามีไม้ตาย.
คำว่า “ไม้ม้วน ไม้หน้า
ไม้มลาย” เป็นชื่อของรูปสระ
ข้อที่ 5. ความหมายของคำในข้อใด
ไม่เข้าพวก
ก. ใจดำ
ข. ใจเด็ด
ค. ใจเพชร
ง. ใจกล้า
วิเคราะห์
คำในคำตอบ
พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ใจ น. สิ่งที่ทําหน้าที่รู้ รู้สึก นึก
และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด ใจซื่อ;
จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุดสำคัญของสถานที่
เช่นใจบ้านใจเมือง.
ใจดำ ว. เห็นแก่ตัว, ไม่เอื้อเฟื้อใคร, ขาดกรุณา. น. ความในใจ เช่น
พูดถูกใจดํา แทงใจดํา; จุดดําที่อยู่กลางเป้า.
ใจเด็ด ว. มีนํ้าใจเด็ดเดี่ยว.
ใจเพชร ว. ใจแข็ง.
คำว่า “ใจกล้า”
พจนานุกรมไม่ได้เก็บความหมายไว้ พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ NECTEC's
Lexitron Dictionary ให้ความหมาย ไว้ดังนี้
ใจกล้า [v.] be brave
[syn.] กล้าหาญ,องอาจ,กล้า
[ant.] ใจเสาะ
[adj.] fearless
[syn.] กล้าหาญ,องอาจ,กล้า
[ant.] ใจเสาะ
ตัวอย่างประโยค
หล่อนใจกล้ามากที่เข้าไปหาสามีตามลำพังถึงในคุก
คำตอบที่ถูกต้องคือ
ข้อ ก.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น